วันอาทิตย์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2560

โรคเซบเดิร์ม: รู้หน้า รู้ใจ บอกสมดุลสุขภาพ

มีคำกล่าวที่พูดกันติดปากว่า"รู้หน้าไม่รู้ใจ" แต่มีโรคผิวหนังที่หมอมีคนไข้มาปรึกษาบ่อยมากโรคหนึ่งคือ
SEBORRHEIC DERMATITISหรือที่คนไข้ได้ยินหมอพูดย่อๆกันบ่อยๆว่า โรคเซบเดิร์ม ซึ่งมีลักษณะเป็นผื่นแดง มีขุย  ตำแหน่งที่เกิดโรคเซบเดิร์มนั้น พบบ่อยในตำแหน่งที่มีปริมาณและการทำงานของต่อมไขมันมาก เช่น ซอกจมูก คิ้ว ไรผม หลังหู หน้าอกและหลัง รวมทั้งมีได้ที่หนังศีรษะเป์นแผ่นขุยขาวคล้ายรังแค  ซึ่งหมอเชื่อว่ามีความสัมพันธ์กับสมดุลภายในของร่างกาย ดังนี้


seborrheic dermatitis โรคเซบเดิร์ม: รู้หน้า รู้ใจ บอกสมดุลสุขภาพ
สาเหตุและกลไกของโรคตามหลักฐานทางแพทย์แผนปัจจุบัน
  • ยังไม่เป็นที่ทราบชัดเจนนัก ไม่ใช่ทั้งโรคติดต่อ หรือโรคทางพันธุกรรม 
  • เชื้อราชื่อ Malassezia เป็นเชื้อราชนิดที่ชอบไขมัน ซึ่งพบได้ปกติบนผิวหนังทั่วไปของเรา โดยจากการศึกษาพบว่า การใช้ยากำจัดเชื้อรา สามารถลดอาการของเซบเดิร์มลงได้ดี เชื้อราชนิดนี้จึงน่าจะมีความสัมพันธ์กับสาเหตุการเกิดเซบเดิร์ม 
  • สาเหตุหรือปัจจัยอื่นๆ  เช่น การระคายเคืองของผิวหนัง  อากาศร้อน เย็น หรือแห้ง ความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ ความไม่สมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย การรับประทานอาหารไม่ถูกสัดส่วน
  • อัตราการเกิดเพิ่มขึ้นในผู้ป่วยที่เป็นโรคเกี่ยวกับระบบประสาท เช่น โรคพาร์กินสัน หรือผู้ป่วยมีประวัติอุบัติเหตุที่สมอง และมีภาวะภูมิคุ้มกันต้านทานโรคบกพร่อง เช่น โรคเอดส์
ทฤษฎีความสมดุลและพฤติกรรมการก่อโรคตามแพทย์แผนไทย
แพทย์แผนไทยเชื่อว่าร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยธาตุ4 คือ ธาตุดิน, น้ำ, ลมและไฟ เมื่อธาตุใดเสียสมดุลก็จะไปกระทบธาตุอื่นๆและมีอาการแสดงตามมา  ผิวหนังเป็นอวัยวะหนึ่งที่อยู่ในธาตุดินถ้ามีความผิดปกติไปก็บ่งบอกถึงว่ามีความเสียสมดุลของธาตุหรืออวัยวะอื่น

พฤติกรรมที่ถือว่าเป็นการก่อโรคในทรรศนะของแพทย์แผนไทยมีอยู่ด้วยกัน 8 ประการ คือ
          1.อาหาร การไม่ระวังในการรับประทาน ได้แก่ รับประทานมากเกินไป น้อยเกินไปจนไม่เพียงพอรับประทานไม่ตรงเวลา อาหารไม่ถูกหลักอนามัย ล้วนเป็นเหตุให้ธาตุแปรปรวนได้
          2.อิริยาบถ ถ้าหากอยู่ในท่าทางอย่างใดอย่างหนึ่งมากเกินไปหรือไม่ใช้นานๆ ร่างกายและเส้นเอ็นก็จะเปลี่ยนแปลงและเกิดความผิดปกติไป
          3.ความร้อนและความเย็น 
          4.การอดนอน อดข้าว อดน้ำ 
          5.กลั้นอุจจาระ ปัสสาวะ
          6.ทำการเกินกำลัง การเกินกำลังในที่นี้หมายรวมถึงทั้งทางร่างกายและความคิด 
          7.ความเศร้าโศกเสียใจ 
          8.โทสะ 
          สาเหตุต่างๆ 8 ประการดังกล่าวนี้ แพทย์แผนไทยถือว่าเป็นพฤติกรรมก่อโรคที่ทำให้ธาตุในร่างกายไม่สมดุลและเป็นเหตุให้เจ็บป่วยได้

ผิวหน้าบอกโรคตามหลักทฤษฏีแพทย์แผนจีน
  • การแพทย์แผนจีนมองว่า การจะเกิดโรคได้ มี 2 สาเหตุหลัก คือ ภูมิต้านทานต่ำ กับ ปัจจัยการเกิดโรคมีมากเกิน 
  • ปัจจัยที่ทำให้เสียสมดุลตามแพทย์แผนจีน ได้แก่ารเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่มากเกินไปหรือเฉียบพลัน มีอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งที่มากเกินหรือน้อยเกิน  การรับประทานอาหารที่ไม่ถูกสุขอนามัย การทำงานตรากตรำ เป็นต้น  
  • การสังเกตโรคจากใบหน้าถือเป็นขั้นตอนหนึ่งในการรักษาโรคตามแนวทางแพทย์แผนจีน     ความสมบูรณสดใสที่แสดงออกมาภายนอกเปรียบเสมือนกระจกสองสะทอนใหทราบถึงสรีระการทํางานหรือ พยาธิสภาพของอวัยวะจาง-ฝู เลือดลมภายใน
  • อารมณ์ทุกอารมณ์เป็นความปกติที่เกิดกับปุถุชน แต่ต้องมีไม่มากหรือน้อยเกินไป และไม่นานจน เกินไป เพราะความสุดขั้วของอารมณ์ล้วนกระทบต่อสมดุลของธาตุภายในร่างกาย  อารมณ์ทั้ง ๗ กับการเกิดโรค โดยอารมณ์พื้นฐานของมนุษย์ปุถุชนทั้งหลาย ประกอบด้วยอารมณ์ ๗ อย่างด้วยกัน คือ (1)ดีใจ (2)โกรธ (3)วิตก (4)กังวล (5)เศร้า (6)กลัว (7)ตกใจ 
         อารมณ์ดีใจ : เกี่ยวข้องกับหัวใจลำไส้เล็ก 
         อารมณ์โกรธ : เกี่ยวข้องกับตับ – ถุงน้ำดี 
         อารมณ์วิตก – กังวล : เกี่ยวกับม้าม – กระเพาะอาหาร
         อารมณ์เศร้าโศก – เสียใจ : เกี่ยวกับปอด – ลำไส้ใหญ่ 
         อารมณ์กลัว – ตกใจ : เกี่ยวกับไต – กระเพาะปัสสาวะ
  •  "ปัญหาของระบบหัวใจ"
    อาการที่ผิวหน้า  จะมีใบหน้าที่หมองคล้ำหรือซีดขาว
    อาการอื่นๆ  มีอาการใจหวิวๆ นอนไม่ค่อยหลับ บางครั้งไม่มีสมาธิชอบหลงลืม 
    "ปัญหาของระบบปอด"
    อาการที่ผิวหน้า ผิวหน้าจะแห้ง มีริ้วรอย มักแพ้ง่าย และจะเป็นสิวบนใบหน้า
    อาการอื่นๆ  มีอาการตัวเย็น เหงื่อจะออกเยอะ เป็นหวัดบ่อยๆ ทั้งที่ไม่ใช่หน้าฝน
    "ปัญหาของตับ"
    อาการที่ผิวหน้า ผิวหน้าหยาบกร้าน บนใบหน้าจะมีสิวฝ้า ใบหน้าจะบวม ตรงบริเวณตามีถุงใต้ตา
    อาการอื่นๆ   มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ บางครั้งท้องเสียง่าย มีกลิ่นปาก รู้สึกเหนื่อยล้า ทำอะไรได้ไม่นานก็จะเมื่อยง่าย รวมทั้งอาจจะปวดฟันโดยไม่ทราบสาเหตุ
    "ปัญหาของม้ามหรือระบบย่อยอาหาร" 
    อาการที่ผิวหน้า ใบหน้าแดงเป็นฝ้า และหน้าซีดเซียว ฝ้าบนหน้าจะเป็นๆ หายๆ เอาแน่เอานอนไม่ได้ ดวงตาก็ไม่ค่อยสดใส
    อาการอื่นๆ  เสียงเบา ปวดประจำเดือน สุขภาพร่างกายจะไม่ค่อยแข็งแรง
    "ปัญหาของระบบไต" 
    อาการที่ผิวหน้า  บริเวณรอบดวงตาจะมีขอบตาคล้ำ ผิวดำหมองคล้ำ หน้าจะเป็นฝ้าดูแล้วเหมือนคนแก่ก่อนวัย
    อาการอื่นๆ ปวดปัสสาวะบ่อย นอนไม่ค่อยหลับ ปวดหลัง บางครั้งมีเสียงดังในหู ผมร่วง

ตำแหน่งบนใบหน้าที่มีความสัมพันธ์กับอวัยวะภายในตามทฤษฎีแพทย์แผนจีน

ตามการแพทย์แผนจีนอธิบายกลไกการเกิด seboreheic dermatitis ได้แก่ ความผิดปกติของกระเพาะลำไส้ใหญ่และเลือดคั่ง  ลมร้อนเลือดแห้ง ลมชื้น ร้อนชื้น เลือดและหยินพร่อง เลือดแห้ง ซึ่งตรงกับสาเหตุและปัจจัยตามแพทย์แผนปัจจุบัน 

การรักษา
การรักษาทางผิวหนังจะให้ยากลุ่มที่ลดการอักเสบของผิวหนัง ซึ่งมีทั้งกลุ่มสเตียรอยด์และกลุ่มอื่น  การใช้ยาทาหรือแชมพูที่กำจัดเชื้อราเสริมก็ทำให้การรักษาได้ผลดี
เนื่องจากเซ็บเดิมเป็นโรคเรื้อรัง และมักกลับเป็นซ้ำ จึงควรรีบทายาควบคุมอาการแต่เนิ่นๆ โดยใช้ยาในช่วงเวลาสั้นๆ เพียงให้โรคสงบ ถ้าใช้ยาต่อเนื่องระยะยาวอาจเกิดอาการติดยาได้ จากนั้นให้คอยระวังปัจจัยกระตุ้นดังได้กล่าวแล้วในหัวข้อสาเหตุและกลไกเกิดโรค ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ให้ความชุ่มชื้นกับผิวหนัง หลีกเลี่ยง ครีม ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เนื่องจากสามารถทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังได้ 

การดูแลรักษาด้วยวิธีธรรมชาติบำบัด
การรักษาด้วยยารักษาทางผิวหนังอย่างเดียว อาจกลับเป็นซ้ำได้บ่อย การปรับสมดุลจากภายในจึงควรทำควบคู่กันไป ดังนี้
1.พักผ่อนให้เพียงพอ นอนหลับ 7-8 ชั่วโมงต่อวัน ไม่นอนดึกเกิน4ทุ่ม
2.ออกกำลังสม่ำเสมอ การออกกำลังกายสามารถช่วยเรื่องความเครียดให้ดีขึ้น
3.มีกิจกรรมที่ช่วยลดความเครียด รวมทั้งสมาธิ โยคะที่ช่วยผ่อนคลาย
4.รับประทานอาหารจากธรรมชาติ อาหารที่มีไขมันโอเมก้า3  โปรไบโอติกส์ อาหารที่มีฤทธ์ต้านอักเสบ ได้แก่ กระเทียม น้ำส้มสายชูหมัก กล้วย อะโวกาโด ขิง มะพร้าว flaxseed  หลีกเลี่ยงอาหารที่อาจทำให้เกิดการอักเสบหรือการแพ้ได้ ได้แก่ อาหารที่มีน้ำตาล ไขมันทรานส์ เบเกอรี่ ข้าวสาลี หอย ถั่วลิสง 

ขอให้ทุกท่านมีผิวพรรณที่ดีสวยสดใสจากภายใน และสุขภาพดีมีสุขนะคะ
ติดตามบทความได้ทางช่องทางอื่น
IG @dr1chuleekorn
line ID @nom4090p

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น