วันพุธที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

กินจืดยืดชีวิต ลดเค็มลดโรค

 ในหนึ่งวันเราควรทานอาหารเค็มได้มากน้อยแค่ไหน และปริมาณโซเดียมในอาหารและเครื่องปรุงรสเป็นเท่าไร ควรปรุงอาหารด้วยซอสปรุงรสหรือไม่

คนทั่วไปควรได้รับปริมาณโซเดียมไม่เกิน 2400 มิลลิกรัมต่อวัน หรือ ใช้น้ำปลาปรุงอาหารไม่เกิน 3 ช้อนชาต่อวัน
กินเค็มเป็นโรค ปริมาณโซเดียมที่ควรได้รับต่อวัน
กินเค็มเป็นโรค

อาหารเค็มที่ควรหลีกเลี่ยง

ปริมาณโซเดียมในอาหารและเครื่องปรุงรส แสดงในภาพ


ปริมาณโซเดียมในเครื่องปรุงรส

สินค้าเค็มๆที่เต็มไปด้วยโซเดียม



 ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก อ.ย. โรงพยาบาลสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์และคลินิกหมอครอบครัว
-------------------------------------------------------------------------------------
#สุขภาพดีมีสุข #ชุลีกรวรยิ่งยง
หวังว่าจะได้ประโยชน์กันนะคะ😊
อย่าลืมแบ่งปันให้แก่คนที่คุณรักอ่านกันด้วยนะคะ
#หมอหนึ่ง
#แพทย์เฉพาะทางผิวหนัง
#แพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ป้องกันคลินิก
----------------------------------------
ติดตามความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ ผิวหนัง ความงาม การแพทย์ผสมผสานได้ที่
www.dr1wellness.blogspot.com
ติดตามบทความได้ทางช่องทางอื่น
IG @dr1chuleekorn
line ID @nom4090p



วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ทำไมถึงเป็นสิวไม่หาย

ทำไมเป็นสิวไม่หาย สิวเรื้อรัง การรักษาสิว

"ทำไมถึงเป็นสิวไม่หาย" เป็นคำถามยอดฮิตคำถามหนึ่งที่คนไข้ถามหมอประจำ จากที่หมอได้ศึกษาแพทย์แผนไทย และแพทย์แผนจีน พบว่าได้กล่าวตรงกันถึงเรื่องผิวหนังเป็นการแสดงออกมาของอวัยวะภายในและบอกถึงสมดุลสุขภาพดังที่เคยกล่าวในเรื่อง โรคเซบเดิร์ม รู้หน้า รู้ใจ บอกสมดุลสุขภาพ

ในงานวิจัยทางแพทย์แผนตะวันตกได้มีหลายงานวิจัยที่บ่งบอกว่าสิวไม่ใช่เป็นเพียงแค่การอุดตันและอักเสบของผิวหนังที่เกิดจากการล้างหน้าไม่สะอาด การใช้เครื่องสำอางและเกิดการอุดตันและเกิดการแพ้  เรื่องของพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดสมดุล คือ อาหาร อารมณ์ การพักผ่อน ล้วนมีผลต่อฮอร์โมนและมีผลกับการกับการเป็นสิว  หมอจึงเชื่อว่าสิวเป็นโรคผิวหนังที่บ่งบอกถึงความสมดุลของการใช้ชีวิตซึ่งส่งผลต่อสุขภาพภายในและภายนอกเช่นกัน

แนวความคิดของการรักษาสิวตามหลักการแพทย์แผนจีน เน้นไปที่สมดุลของอวัยวะภายใน อวัยวะทุกส่วน เช่น ตับ ม้าม ไต กระเพาะอาหาร ระบบการไหลเวียนของเลือด ทำงานแบบไม่ติดขัดและประสานกันดี ไม่มีของเสียหรือเมือกไปเกาะหรืออุดตันตามอวัยวะต่างๆ ซึ่งส่งผลต่อความสมดุลของผิวพรรณภายนอกคือเกิดสิวน้อยลง หรืออาจหายไป   ปัจจัยหลักของการเกิดสิวตามแนวความคิดของแพทย์จีนคือ "ความร้อนภายในร่างกาย"  การรักษาสิวนั้นก็จะเน้นไปที่การลดความร้อนที่เกิดขึ้น โดยใช้การปรับพฤติกรรม สมุนไพร กัวซาและการฝังเข็มเพื่อปรับสมดุล ขึ้นอยู่กับอาการการเกิดสิวของแต่ละคนว่าเป็นสิวแบบไหน อวัยวะตรงไหนร้อน 

ในทางการแพทย์แผนไทยมีแนวคิดว่า สิวเกิดจากปิตตะพิการ จากการเสียสมดุลของธาตุต่างๆในร่างกาย  ทำให้เกิดอาการหลาย ๆ รูปแบบ รวมถึงทำพิษให้โลหิตพิการ เกิดการอักเสบ ส่งผลให้เกิดฝีหนอง หรือสิวหนองชนิดต่าง ๆ ดังนั้นหลักการรักษาตามแนวทางการแพทย์แผนไทย คือ ปรับปิตตะหรือความร้อนภายในร่างกายเช่นเดียวกับแพทย์แผนจีน  

ดังนั้นการรักษาสิวที่ได้ผลดี ไม่เพียงแต่การใช้ยาทา ยากิน การทำทรีทเมนท์ หรือเลเซอร์ภายนอก  การรักษาแบบการแพทย์ผสมผสานเพื่อความสมดุลของร่างกายภายในมีความสำคัญไม่แพ้กันมีแนวปฏิบัติง่ายๆดังนี้คือ
1.รักษาความสะอาดของผิว แต่อย่าล้างหน้าบ่อยเกินไป เพราะอาจทำให้ผิวแห้งและขาดความชุ่มชื้น
2. รับประทานอาหารสมุนไพรที่มีรสชาติขม เย็น หรือจืด ได้แก่ ฟัก บวบ มะระ ย่านาง บัวบก เห็ด ยอดสะเดา เป็นต้น เลี่ยงอาหารเผ็ดจัด เค็มจัด หวานจัด เปรี้ยวจัด และของมึนเมา
3. ขับถ่ายทุกวัน เป็นการนำความร้อนส่วนเกินออกจากร่างกาย   แนะนำให้รับประทานอาหารรสหวานที่มีฤทธิ์ระบาย เช่น น้ำลูกพรุน องุ่น  กล้วย มะละกอ ส้มหวานต่างๆ แก้วมังกร เป็นต้น
4. ดื่มน้ำให้เพียงพอ  แต่ไม่ควรดื่มครั้งละมากๆ  เน้นจิบบ่อย ๆ หลีกเลี่ยงน้ำเย็น หรือน้ำอัดลม
5. นอนหลับสนิทให้เพียงพอในที่มืดสนิท โดยเฉพาะในช่วงสี่ทุ่ม-ตีสอง ร่างกายก็จะได้พักผ่อนและฟื้นฟูสภาพร่างกายได้เต็มที่ สามารถกำจัดพิษในร่างกายได้สมบูรณ์ ทำให้ธาตุไฟในร่างกายไม่กำเริบ คนที่ชอบนอนดึก มักเกิดภาวะอักเสบ ร้อนใน หรือแผลในปากบ่อยๆ
6.ปรับสภาพจิตใจ  การรักษาโรคปิตตะต้องใช้ความเย็น ความสนุก ความแจ่มใส ความพอใจและความร่าเริง ได้แก่การคุยสนุกสนานกับเพื่อน พักผ่อนท่องเที่ยวดูทิวทัศน์ ฟังดนตรี การใช้สุคนธบำบัด การนวดผ่อนคลาย

7. ออกกำลังกาย เน้นการออกกำลังกายที่ช่วยสร้างความสมดุล ได้แก่ เดิน  โยคะ หรือฤๅษีดัดตน

ขอให้ทุกท่านมีผิวพรรณที่ดีสวยสดใสจากภายใน สวยปลอดภัย และสุขภาพดีมีสุขนะคะ
ติดตามบทความได้ทางช่องทางอื่น
IG @dr1chuleekorn
line ID @nom4090p