วันอาทิตย์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2560

ปานแดงกับการรักษาโดยใช้เลเซอร์

เมื่อวานนี้เป็นวันอาทิตย์เป็นวันหยุดพักผ่อนของหลายท่าน ส่วนหมอได้มีโอกาสไปฟังประชุมวิชาการเรื่องเลเซอร์  ในงานประชุมมีพูดถึงเรื่องการรักษาเรื่องปานแดงโดยใช้เลเซอร์เลยนำมาเล่าสู่กันฟังค่ะ



 ปานแดง

     เกิดจากหลอดเลือดใต้ผิวรวมตัวเป็นกลุ่มเนื้องอก มีสีแดงหรือสีแดงคล้ำขึ้นกับระดับความลึก มีได้ทั้งชนิดราบ และชนิดนูน อาจพบแต่ที่ผิวหนังตำแหน่งเดียว หรือหลายตำแหน่ง ในบางครั้งเมื่ออายุมากขึ้นเนื้องอกอาจยุบหายไปได้เอง แต่ในบางกรณีไม่ยุบหรือมีส่วนหลงเหลือนอกจากนี้อาจมีพบร่วมกับเนื้องอกของหลอดเลือดในอวัยวะภายในได้


ปานแดงกับการรักษาด้วยเลเซอร์



ลักษณะปานแดงที่ต้องระวัง
  • ปานแดงที่เกิดบริเวณใบหน้า ที่มีขนาดใหญ่กว่า 5 เซนติเมตร ซึ่งอาจพบร่วมกับความผิดปกติของโรคเส้นเลือดในสมองได้
  • ปานแดงที่เกิดบริเวณหนังตา ที่อาจบดบังการมองเห็น หรือทำให้เกิดการมองเห็นที่ผิดปกติ
  • ปานแดงที่เกิดบริเวณกรามล่าง ที่อาจทำให้เกิดปัญหาในการหายใจ
  • ปานแดงที่เกิดบริเวณหลัง และทวารหนัก ที่อาจสัมพันธ์กับความผิดปกติของระบบปัสสาวะ

การรักษาปานแดงด้วยเลเซอร์
    อายุที่ควรเข้ารับการรักษาปานแดง พิจารณาจาก ขนาด และตำแหน่งของรอยโรค ร่วมกับผลกระทบทางด้านจิตใจ  
    การรักษาปานแดงด้วยเลเซอร์ต้องทำหลายครั้ง และเลเซอร์ที่ใช้รักษาจะเป็นเลเซอร์ที่จำเพาะเจาะจงในการกำจัดเส้นเลือด ซึ่งที่นิยมใช้กัน คือ pulsed dye laser(V beam)ความยาวคลื่น 595 nm 
    อย่างไรก็ดียังมีปานแดงที่ค่อนข้างลึกมากๆ ตอบสนองกับการรักษาด้วยpulsed dye laser(V beam)ความยาวคลื่น 595 nm เดียวยังไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร  จึงมีการศึกษาวิจัยโดยใช้เลเซอร์ความยาวคลื่น 1064 nm(Ndyag) ที่ออกแบบให้เหมาะสมกับการยิงเนื้องอกของเส้นเลือดขนาดใหญ่โดยออกมาพร้อมกันกับpulsed dye laser(V beam)ความยาวคลื่น 595 nmในการยิง 1 shot

    เล่าสู่กันฟังเรื่องเทคโนโลยีเลเซอร์ค่ะ อย่างไรก็ดีการรักษาปานแดงเพื่อความสวยที่ปลอดภัยควรได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งในแต่ละบุคคลอาจใช้การรักษาที่เหมาะสมแตกต่างกันไปค่ะ




ติดตามบทความได้ทางช่องทางอื่น
http://www.facebook.com/dr1chuleekorn
IG @dr1chuleekorn
line ID @nom4090p
     

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น